Read more
รวมบทความ และข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการและบริการสำหรับประชาชนที่ทุกคนอยากรู้ เช่น ประกันสังคม สิทธิการรักษา สวัสดิการความช่วยเหลือ และอื่น ๆ ในเว็บเดียว
ขั้นตอนการสมัคร 1. กรอกแบบคำขอรับความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม 2. เตรียมเอกสารประกอบการยื่น โดยลงชื่อรับรองสำเนาทุกฉบับ เอกสารของผู้ปกครอง เอกสารของเด็ก สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร (ชื่อบัญชีต้องเป็นชื่อเดียวกับพ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่ลงนามในแบบบันทึกข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม) สำเนาใบเกิด สำเนาบัตรประชาชน (ถ้ามี) สำเนาทะเบียนบ้าน 3. ยื่นเอกสารได้ด้วยตัวเอง หรือผ่านช่องทางออนไลน์ตามช่องทางการยื่นเอกสารด้านบน 4.รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม ระยะเวลาดำเนินการ/ติดตามสถานะ หลังจากยื่นเรื่อง เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมประจำจังหวัดนั้น ๆ จะลงพื้นที่เพื่อพูดคุยและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาและอนุมัติ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 – 3 เดือน โดยสามารถติดตามสถานะการดำเนินการได้ตลอดเวลาที่แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ช่องทางการติดต่อสอบถาม สายด่วนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โทร. 1300 Line ID: sac1300news
www.portal.co.thภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่คนมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี โดยจ่ายเป็นอัตราขั้นบันไดหรืออัตราก้าวหน้า คือยิ่งมีรายได้มากก็ยิ่งเสียภาษีมากตามไปด้วย ซึ่งภาษีเหล่านี้ก็คือเงินที่จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศของเรานั่นเอง ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? เงินได้ (หรือ รายได้) ที่ต้องเสียภาษี หรือ “เงินได้พึงประเมิน” คือรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของทุกปี ได้แก่ เงิน ทรัพย์สินที่สามารถตีราคาเป็นเงินได้ เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา เป็นต้น สิทธิประโยชน์ที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น ลูกจ้างที่ได้รับสิทธิอยู่บ้านฟรี หรือให้อาหารกลางวัน เป็นต้น เงินค่าภาษีที่คนอื่นออกให้แทน เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย เครดิตภาษีเงินปันผล เช่น เงินปันผลที่ได้จากหุ้น
http://www.portal.co.thวิธียื่นเสียภาษี การยื่นเสียภาษี เป็นการใช้ข้อมูลเงินของปีก่อนหน้า เพื่อนำมาคำนวณและยื่นเสียภาษีประจำปี มีขั้นตอน ดังนี้ เลือกประเภทของแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 คือ ผู้ที่มีรายได้จากช่องทางเดียว เช่น พนักงานบริษัท ภ.ง.ด. 90 คือ ผู้ที่มีรายได้หลายช่องทาง เช่น ฟรีแลนซ์ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล เป็นต้น เอกสารที่ต้องเตรียม หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายหรือใบ 50 ทวิ สำหรับพนักงานออฟฟิศหรือผู้ที่เคยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ รายการลดหย่อนภาษีของทั้งปี เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี สำหรับใช้เป็นหลักฐานในการยื่นเรื่อง บัญชีธนาคารที่ผูกกับพร้อมเพย์สำหรับรับเงินในกรณีที่ได้ภาษีคืน ซึ่งวิธีนี้จะได้เงินเร็วกว่าการสั่งจ่ายเงินแบบเช็คและส่งผ่านทางไปรษณีย์ วิธีการชำระ ชำระผ่านช่องทางออนไลน์ ชำระด้วย E – Payment ชำระด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ชำระด้วย Internet Banking และ Mobile Banking ชำระผ่านแอป True Money และ easyBills ชำระผ่านช่องทางออฟไลน์ ชำระผ่านตู้ ATM ชำระผ่าน Tele Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส บิ๊กซี และโลตัส ชำระได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ ชำระได้ที่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ ชำระด้วยบัตรเอเทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต ได้ที่สำนักงานสรรพากรสาขาที่กำหนด ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์ ได้ที่สำนักงานสรรพากรสาขาที่กำหนด ชำระด้วยธนาณัติ สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพเท่านั้น การขอผ่อนชำระ มียอดเสียภาษีเกิน 3,000 บาท สามารถยื่นเรื่องขอผ่อนชำระได้ ทั้งในกรณียื่นภาษีออนไลน์และยื่นที่สรรพากร สามารถแบ่งจ่ายได้ 3 งวด งวดละเท่ากัน โดยไม่เสียดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่หากไม่จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกคิดดอกเบี้ย 1.5% ของยอดภาษีที่ค้างจ่าย/เดือน งวดที่ 1 จ่ายในวันที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา งวดที่ 2 จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากการจ่ายงวดที่ 1 งวดที่ 3 จ่ายภายใน 1 เดือน หลังจากการจ่ายงวดที่ 2
0 Reviews